วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ภาษิต

ภาษิต หรือ สุภาษิต
               ภาษิต หรือ สุภาษิตมีอยู่ทั่วไปในทุกชาติทุกภาษา   และมักรู้กันแพร่หลาย   มักเขียนเป็นร้อยกรอง  เล่นสัมผัสสระ  สัมผัสพยัญชนะ   เพิ่มความไพเราะและกำหนดจดจำง่ายยิ่งขึ้น   เช่น
            - กว่าถั่วจะสุก  งาก็ไหม้   (ทำอะไรไม่ทันท่วงที)
            - กินบนเรือนแล้วขี้รดหลังคม   (เนรคุณ)
            - กินปูนร้อนท้อง   (ทำผิดแล้วมักออกตัว  แสดงพิรุธ)
            - เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน   (ทำงานได้เงินเล็กๆ น้อยๆ ก็เอา)
            - ขายผ้า  เอาหน้ารอด   (ยอมเสียทุกอย่างเพื่อรักษาชื่อเสียง)
- ขิงก็รา  ข่าก็แรง   (ต่างคนต่างแรง  ไม่ยอมกัน  เรื่องเล็กก็เลยกลายเป็นเรื่องใหญ่ไป  เพราะทิฐิมานะ)
- ขี่ช้างจับตั๊กแตน   (ทำเรื่องเล็กให้กลายเป็นเรื่องใหญ่  ได้ผลไม่คุ้มกับที่ต้องเสียไป)
- เข้าตามตรอก  ออกตามประตู   (ทำอะไรให้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณี)
- เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า  ได้หน้าอย่าลืมหลัง   (อย่าประมาทต้องเตรียมให้พร้อม  และให้มีสติกำหนดจดจำให้ดี)
- เข้าเมืองตาหลิ่ว  ต้องหลิ่งตาตาม   (ประพฤติให้ถูกต้องตามกาลเทศะ  เมื่อไปอยู่ในพวกเขาแล้ว  ก็ต้องประพฤติคล้อยตามเขา)
- เขียนเสือให้วัวกลัว   (ขู่ให้กลัว)
- คนดีตกน้ำไม่ไหล  ตกไฟไม่ไหม้   (คนดีไปที่ไหนก็มีคนอยากคบหาสมาคมด้วย ไม่ลำบาก)
- คนเดียวหัวหาย  สองคนเพื่อนตาย  สามคนกลับมาได้   (ความชัดแล้ว)
- คนรักเท่าผืนหนัง  คนชังเท่าผืนเสื่อ   (คนที่รักเรามีน้อยคล้ายผืนหนัง  คนชังมีมาก  อย่างกับเสื่อลำแพน)
- คบคนให้ดูหน้า  ซื้อผาให้ดูเนื้อ   (ความชัดแล้ว)
- คบคนพาล  พาลพาไปหาผิด  คบบัณฑิต  บัณฑิตพาไปหาผล   (ความชัดแล้ว)
- คบคนดีมีศรีแก่ตัว  คบคนชั่วอัปราชัย   (อัปราชัย  ในที่นี้มีความหายเท่ากับ ปราชัย  คือจะพ่ายแพ้  หมายถึงไม่เป็นมงคลแก่ตัว)


2 ความคิดเห็น: