วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กบในกะลา

กบในกะลา

ตัวอย่างสุภาษิต

สำนวน สุภาษิต คำพังเพย





สำนวน สุภาษิต คำพังเพย               

            สุภาษิต หมายถึง  ถ้อยคำที่สั่งสอนหรือห้ามโดยตรง  มีคำเปรียบเทียบบ้างไม่มีบ้าง  เช่น   คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ,   อย่าถือคนบ้า อย่าว่าคนเมา,   น้ำเชี่ยว อย่าขวางเรือ
            คำพังเพย หมายถึง  ถ้อยคำที่แสดงความจริง   ไม่ได้สอนโดยตรง  อาจจะเป็นคำพังเพยแท้ก็ได้  เป็นสำนวนก็ได้  เป็นคำขวัญก็ได้   คำพังเพยแท้เช่น   มีเงินเขานับว่าน้อง มีทองเขานับว่าพี่,  ยากเงิน จนทอง พี่น้องไม่มี,   มีเงินทอง พูดจาได้ มีไม้ไร่ ปลูกเรือนงาม,   รู้แล้วพูดไปสองไพเบี้ย รู้แล้วนิ่งเสียตำลึงทอง
            สำนวนมักเป็นคำเปรียบเทียบ   คือให้นำความเป็นไปของสิ่งนั้นๆ มาเปรียบเทียบกับความประพฤติของคน  เช่นคำว่า   ขิงก็รา ข่าก็แรง,   ปลาร้าเค็ม มะเขือขื่น,   ตัวเท่าเสา เงาท่ากระท่อม,   น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย
            คำขวัญนั้น  มักเป็นคำปลอบขวัญหรือปลุกใจให้มุ่งมั่น  เช่นคำว่า   กรุงศรีอยุธยายังไม่สิ้นคนดี  (หมายถึงเมืองไทยยังไม่สิ้นคนดี)   ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ,   ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม
            คำพังเพยที่มีผู้นำมาแต่งเป็นสำนวนกลอนไว้   เป็นต้นว่า
                        กินอยู่กับปาก                อยากอยู่กับท้อง
                        เรือล่มเมื่อจอด                ตาบอดเมื่อแก่
                        นอนหลับไม่รู้                  นอนคู้ไม่เห็น
                        หน้าชื่นอกตรม                ลับลมคมใน
                        ความรู้ท่วมหัว                เอาตัวไม่รอด
                        มะพร้าวตื่นดก                ยาจกตื่นมี
                        ใจดีสู้เสือ                       ใกล้เกลือกินด่าง
                        ไม่ฟังอย่าสอน                ไม่วอนอย่าบอก
                        สู้จนยิบตา                     ชอบมาพากล
                        คนนอนอย่าบอก             คนปอกอย่าเชื่อ
                        จุดไต้ตำตอ                    ขุดบ่อล่อปลา
                        กิ่งก่าได้ทอง                   กันดีกว่าแก้                                    
                       ใครดีใครได้                    ต้นร้ายปลายดี
                        ตาบอดได้แว่น                หัวล้านได้หวี 
                               
                       

ภาษิต

ภาษิต หรือ สุภาษิต
               ภาษิต หรือ สุภาษิตมีอยู่ทั่วไปในทุกชาติทุกภาษา   และมักรู้กันแพร่หลาย   มักเขียนเป็นร้อยกรอง  เล่นสัมผัสสระ  สัมผัสพยัญชนะ   เพิ่มความไพเราะและกำหนดจดจำง่ายยิ่งขึ้น   เช่น
            - กว่าถั่วจะสุก  งาก็ไหม้   (ทำอะไรไม่ทันท่วงที)
            - กินบนเรือนแล้วขี้รดหลังคม   (เนรคุณ)
            - กินปูนร้อนท้อง   (ทำผิดแล้วมักออกตัว  แสดงพิรุธ)
            - เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน   (ทำงานได้เงินเล็กๆ น้อยๆ ก็เอา)
            - ขายผ้า  เอาหน้ารอด   (ยอมเสียทุกอย่างเพื่อรักษาชื่อเสียง)
- ขิงก็รา  ข่าก็แรง   (ต่างคนต่างแรง  ไม่ยอมกัน  เรื่องเล็กก็เลยกลายเป็นเรื่องใหญ่ไป  เพราะทิฐิมานะ)
- ขี่ช้างจับตั๊กแตน   (ทำเรื่องเล็กให้กลายเป็นเรื่องใหญ่  ได้ผลไม่คุ้มกับที่ต้องเสียไป)
- เข้าตามตรอก  ออกตามประตู   (ทำอะไรให้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณี)
- เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า  ได้หน้าอย่าลืมหลัง   (อย่าประมาทต้องเตรียมให้พร้อม  และให้มีสติกำหนดจดจำให้ดี)
- เข้าเมืองตาหลิ่ว  ต้องหลิ่งตาตาม   (ประพฤติให้ถูกต้องตามกาลเทศะ  เมื่อไปอยู่ในพวกเขาแล้ว  ก็ต้องประพฤติคล้อยตามเขา)
- เขียนเสือให้วัวกลัว   (ขู่ให้กลัว)
- คนดีตกน้ำไม่ไหล  ตกไฟไม่ไหม้   (คนดีไปที่ไหนก็มีคนอยากคบหาสมาคมด้วย ไม่ลำบาก)
- คนเดียวหัวหาย  สองคนเพื่อนตาย  สามคนกลับมาได้   (ความชัดแล้ว)
- คนรักเท่าผืนหนัง  คนชังเท่าผืนเสื่อ   (คนที่รักเรามีน้อยคล้ายผืนหนัง  คนชังมีมาก  อย่างกับเสื่อลำแพน)
- คบคนให้ดูหน้า  ซื้อผาให้ดูเนื้อ   (ความชัดแล้ว)
- คบคนพาล  พาลพาไปหาผิด  คบบัณฑิต  บัณฑิตพาไปหาผล   (ความชัดแล้ว)
- คบคนดีมีศรีแก่ตัว  คบคนชั่วอัปราชัย   (อัปราชัย  ในที่นี้มีความหายเท่ากับ ปราชัย  คือจะพ่ายแพ้  หมายถึงไม่เป็นมงคลแก่ตัว)


สำนวน

ส่วนสำนวนซึ่งมักพูดเป็นลีลาก็มีคำกลอนอยู่มาก   เป็นต้นว่า
            ตกไร้ได้ยาก                   อดอยากปากแห้ง
            เคราะห์หามยามร้าย       หวดซ้ายป่ายขวา
            ตัวสั่นงันงก                     ตีอกชกหัว
            เจ้าถ้อยร้อยความ            ถ้วยชามรามไห                    
            เก็บหอมรอมริบ               กำเริบเสิบสาน
            หอมหวนทวนลม             ชื่นชมสมหมาย
            หิวโหยโรยแรง                 ฟักแฟงแตงกวา
            ภูเขาเลากา                    มืดหน้าตามัว
            ก่อร่างสร้างตัว                ตกลงปลงใจ
            ป่าดงพงไพร                   อาศัยไหว้วาน
            เอื้อเฟื้อเจือจาน               เจ้าขุนมูลนาย
            มืดหน้าตาลาย               เหลือบ่ากว่าแรง

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

คำพังเพย

คำพังเพยที่มีผู้นำมาแต่งเป็นสำนวนกลอนไว้   เป็นต้นว่า
                        กินอยู่กับปาก                อยากอยู่กับท้อง
                        เรือล่มเมื่อจอด                ตาบอดเมื่อแก่
                        นอนหลับไม่รู้                  นอนคู้ไม่เห็น
                        หน้าชื่นอกตรม                ลับลมคมใน
                        ความรู้ท่วมหัว                เอาตัวไม่รอด
                        มะพร้าวตื่นดก                ยาจกตื่นมี
                        ใจดีสู้เสือ                       ใกล้เกลือกินด่าง
                        ไม่ฟังอย่าสอน                ไม่วอนอย่าบอก
                        สู้จนยิบตา                     ชอบมาพากล
                        คนนอนอย่าบอก             คนปอกอย่าเชื่อ
                        จุดไต้ตำตอ                    ขุดบ่อล่อปลา
                        กิ่งก่าได้ทอง                   กันดีกว่าแก้
                        จูบลูกถูกแม่                   มิตรจิตมิตรใจ
                        ห่างลอดตัวเล็น              ตีตนก่อนไข้
                        ใครดีใครได้                    ต้นร้ายปลายดี
                        ตาบอดได้แว่น                หัวล้านได้หวี
                        จับนั่นจับนี่                     เข้าพระเข้านาง
                        อย่าไว้ใจทาง                  อย่าวางใจคน
                        กินน้ำใต้ศอก                  ต้นข้าวคอยฝน
                        หว่านพืชหวังผล             ผิดหูผิดตา
                        หน้าเนื้อใจเสือ                ไปตายดาบหน้า
                        เข้าเถื่อนลืมพร้า              น้ำน้อยแพ้ไฟ